เตือนการระบาด เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
มีชื่อวิทยาศาสตร์: Allocaridara malayensis Crawford
อยู ในวงศ์: Psyllidae
เป็นศัตรูที่สําคัญของทุเรียน พบระบาดทําความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมากในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วไป ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือนํ้าตาลเป็นกลมๆ แต่ละกลุ่มมีไข่ประมาณ 8 – 14 ฟอง หลังจากน้ันไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อน ระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้น ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุยสีขาวติดอยู่ตามลําตัวโดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลําตัวจะมีปุยยาวสีขาวคล้ายๆกับหางไก่
แมลงชนิดนี้จึงได้ ชื่อว่า “เพลี้ยไก่แจ้” หรือ “เพลี้ยไก่ฟ้า” ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทําให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆทำให้ ใบหงิกงอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทําลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมากและยังไม่คลี่ออก จะทําให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทําให้ เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา ระยะตัวอ่อนทําความเสียหายมากที่สุด
Cr. ข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร