โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

  1. หลักการและเหตุผล

จากนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเน้นให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในชุมชน เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรของชุมชน และเป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตร ประกอบกับในสภาวะปัจจุบัน สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ปัญหาโรคและแมลง และพื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อย และมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบกับปัญหาการขาดทุน เกิดหนี้สิน และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่ ม.2 ต.นครป่าหมาก สินค้าหลักประเภทข้าว และ ศพก.เครือข่าย จำนวน 18 ศูนย์ ขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ ในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจาก ศพก. ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นจุดที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตรต่างๆ กับเกษตรกร อีกทั้งยังใช้เป็นจุดนัดพบในการพบปะพูดคุยของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกันเอง

2.วัตถุประสงค์

2.1 เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตร และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่

2.2 เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่

3.ดำเนินการใน อำเภอบางกระทุ่ม ทั้ง 9 ตำบล ประกอบด้วย

3.1 ศูนย์หลัก ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอละ ม.2 ต.นครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

3.2 ศูนย์เครือข่าย ได้แก่

3.2.1 ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)

3.2.2 ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.)

3.3 ศูนย์เครือข่ายอื่นๆ เช่น ศูนย์เรียนรู้ด้านบัญชี ศูนย์เรียนรู้พืชผัก ศูนย์เรียนรู้ด้านประมง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ รวม 19 ศูนย์

ที่ ชื่อศูนย์เครือข่าย หมู่ ตำบล x y ชื่อ-สกุล ประธานศูนย์ เบอร์โทรศัพท์
ศพก.หลัก ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอบางกระทุ่ม นายสมพงษ์ อ้นชาวนา
1 ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านบึงเวียน 7 บางกระทุ่ม 639952 1831621 นายสมคิด ฤทธิ์ชาวนา 0873150988
2 ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านโฉงกลาง 7 โคกสลุด 633901 1834140 นายวิรัตน์ ภูมิผล 0900636001
3 ศูนย์เรียนรู้บ้านสวนอุ้ย 8 ท่าตาล 643701 1841074 นางสาวปัทมา หันเชื้อจีน 0870905696
4 ศูนย์เรียนรู้บ้านย่านยาว 3 โคกสลุด 632934 1832678 นายกิจจา   จันทร์ปาน 0852700941
5 ศูนย์เรียนรู้บ้านโคกสลุด 3 บ้านไร่ 633113 1835725 นายเฉลิม   จันทร์รอด 0872059029
6 ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านเต็งประดา 8 วัดตายม 655302 1833574 นายบรรลือ   อินทรีย์ 0623057139
7 ศูนย์เรียนรู้บ้านเนินกุ่ม 6 เนินกุ่ม 650647 1828939 นายสมศักดิ์ สาโท 0818378851
8 ศูนย์เครือข่ายสมุนไพรอำเภอบางกระทุ่ม 1 บางกระทุ่ม 637177 1837186 นายสมาน เนียมเกิด 0839599533
9 ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านแหลมพระธาตุ 9 นครป่าหมาก 649965 1839894 นายสำเริง ประทุมมาศ 0831665266
10 วิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยมีบุญ 6 สนามคลี 632563 1828154 นางบุญยัง จู่บ้านไร่ 0850532353
11 กลุ่มรวมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป 5 บ้านไร่ 633546 1837078 นางจิรพันธ์ ศรีน้อย 0623082941
12 ศูนย์เรียนรู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5 บ้านไร่ 6635625 1836797 นายธิติวัฒน์  วรวิทย์ภูวสิน 0908891159
13 สวนเกษตรพอเพียงตามรอยพ่อ 8 วัดตายม 656030 1833791 นายธนกร   ฉิมลี 0898877362
14 สวนสุธีเมล่อนฟาร์มและโกโก้ไอเอ็มวัน (IM1) 5 บ้านไร่ 634195 1837264 นายสุธี คำมาเมือง 0819536434
15 ศูนย์เรียนรู้ด้านประมงตำบลบางกระทุ่ม 1 บางกระทุ่ม 636188 1836173 นางสาววิภาลักษณ์ สุดสงวน 0628864385
16 ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) บ้านสนามคลี 6 สนามคลี 632541.14 1828105.95 นายชูชาติ แสงปรางค์ 0898586474
17 ศูนย์เรียนรู้ด้านปศุสัตว์บ้านท่าดินแดง 6 ท่าตาล 641130 1846245 นายปิ่น ครามสระน้อย 0819622709
18 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรบ้านไร่หนองหนองหญ้าเศรษฐกิจพอเพียง 9 บ้านไร่ 636203 1840093 นายกำพล ทองจุ้ย 0804456264
19 ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM) (โคกหนองนาโมเดล) 2 ไผ่ล้อม 16.54907191 100.3143371 นางสายสุนีย์  นุชบ้านป่า 0818879358

ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2565

4.กิจกรรมกการดำเนินงาน (แบ่งงานเป็น 2 ส่วน รวมทั้งหมด 8 กิจกรรม)

ส่วนที่ 1 การดำเนินงานในส่วนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย

4.1 การพัฒนาศักยภาพ ศพก. และศูนย์เครือข่าย

4.2 การพัฒนาเกษตรกร

4.3 การสนับสนุนการให้บริการของ ศพก.และเครือข่าย

4.4 การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน

4.5 การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ศพก. / บริหารจัดการและติดตามการดำเนินงานโครงการ

ส่วนที่ 2 การดำเนินงานของ ศจช., ศดปช. และการอารักขาพืช

4.6 การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและการให้บริการของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)

4.7 การพัฒนาศูนย์เครือข่าย (ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน)

4.8 เสริมสร้างความรู้และทักษะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ (ขับเคลื่อนการดำเนินงานและการบริการคลินิกพืชระดับพื้นที่)

5. ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด

5.1 ผลผลิต (output)

1) เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ศพก.

2) ศพก.หลักและ ศูนย์เครือข่ายได้รับการพัฒนาศักยภาพ

5.2 ผลลัพธ์ (outcome)

1) เกษตรกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ศพก. สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้

2) เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ศพก. และเข้าสู่ระบบการผลิตแบบแปลงใหญ่   สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้

3) ศูนย์ที่ได้รับการพัฒนาสามารถให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้

4) เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

5) เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสินค้าเกษตรได้เหมาะสม ส่งผลให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้

5.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ศพก. สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน และเป็นกลไกในการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ได้

2) เกษตรกรที่นำไปปฏิบัติมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ

3) เกษตรกรสมาชิก ศพก.และเครือข่าย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรไปใช้

4) เกิดการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการตลาดสินค้าเกษตรทั้งในและนอกอำเภอ

ข้อมูล ศพก.

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โครงการ ศพก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ตัวอย่างแบบฟอร์มต่างๆ ของ ศพก. ปี 2566

http://alc.doae.go.th/?p=7337

ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการบริหารงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)